การจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 รัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับการดำเนินภารกิจเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศตามยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ แผนการปฏิรูปประเทศ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน นโยบายสำคัญของรัฐบาล แผนปฏิบัติราชการของกระทรวง รวมทั้งการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางในการจัดสรรงบประมาณ โดยคำนึงถึงความจำเป็นและภารกิจของหน่วยรับงบประมาณ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพความคุ้มค่าในการใช้จ่ายงบประมาณและผลสัมฤทธิ์ในการบริหารจัดการภาครัฐ และสนับสนุนให้เศรษฐกิจของประเทศมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
กรมบัญชีกลางได้พัฒนางานเพื่อให้การบริหารจัดการด้านการเงินการคลังเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมีการกำกับดูแลการใช้จ่ายเงินทุกประเภทให้ถูกต้องและรวดเร็ว โดยคำนึงถึงความคุ้มค่าภายใต้วิสัยทัศน์”กำกับดูแลและบริหารการใช้จ่ายเงินของแผ่นดินให้เกิดประโยชน์สูงสุด” โดยได้มีการจัดทำแผนปฏิบัติราชการของกรมบัญชีกลาง ประจำปีงบประมาณ พศ. 2566 ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นกรอบแนวคิดและทิศทางในการดำเนินงานของกรมบัญชีกลาง ซึ่งสอดคล้องกับแผนขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี กรมบัญชีกลาง (พ.ศ. 2561 – 2580) กับแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561 – 2580) แผนการปฏิรูปประเทศ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 และแผนยุทธศาสตร์กระทรวงการคลัง เพื่อให้การปฏิบัติงานของกรมบัญชีกลางเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสอดรับกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป ปัจจุบันกรมบัญชีกลางยังคงมุ่งมั่นดำเนินภารกิจเกี่ยวกับการกำกับดูแล ควบคุมการใช้จ่ายเงินงบประมาณของแผ่นดิน พร้อมทั้งกำหนดแนวทางและให้บริการหน่วยงานของรัฐในมิติของการเงินการคลังภาครัฐ เพื่อให้สามารถดำเนินการได้อย่างถูกต้อง โปร่งใสและสามารถตรวจสอบได้ และได้มีการพัฒนระบบและกระบวนการปฏิบัติอย่างต่อเนื่องให้สอดรับกับบริบททางเศรษฐกิจสังคม สิ่งแวดล้อม และเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงทั้งในระดับประเทศและ ระดับโลก เพื่อให้หน่วยงานต่าง ๆดำเนินการได้อย่างถูกต้อง สะดวก รวดเร็ว สนับสนุนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ ส่งเสริมให้ประเทศชาติก้าวหน้ายั่งยืนต่อไป ทั้งนี้ รายงานสถิติการคลังประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จะเป็นการรายงานในภาพรวมการรับจ่ายเงินงบประมาณ เงินนอกงบประมาณ ฐานะการคลัง การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ และค่าใช้จ่ายบุคลากร เพื่อให้ได้ทราบถึงสถานการณ์การบริหารการใช้จ่ายเงินของแผ่นดินในมิติต่าง ๆ และเพื่อให้ผู้สนใจได้ศึกษาและนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในงานที่เกี่ยวข้องต่อไป
อ่านข้อมูสถิติเพิ่มเติมได้ที่ : CLICK