วิวัฒนาการทางการแพทย์ส่งผลให้ประชากรทั่วโลกมีสุขภาพดีและอายุยืนยาวขึ้นอัตราการเกิดลดลง เนื่องจากการพัฒนาทางเศรษฐกิจส่งผลให้ประชาชนให้เวลากับการทางานมากกว่าการมีครอบครัวหรือมีลูกหลายประเทศทั่วโลกจึงกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) ที่มีสัดส่วนประชากรสูงอายุมากกว่าร้อยละ 10 ตั้งแต่ปี 2558 เป็นต้นมา และคาดการณ์ว่า จะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 31 ในปี 2553 ซึ่งไทยจะเป็นประเทศกาลังพัฒนาประเทศแรกที่ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Completeaged Society) ในปี 2565 ที่มีสัดส่วนประชากรสูงอายุมากกว่าร้อยละ ๒๐ และจะก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุระดับสุดยอด (Super-aged Society) ที่มีสัดส่วนประชากรสูงอายุมากกว่าร้อยละ 28 ในปี 2574
ภาคเหนือเป็นภาคที่มีสัดส่วนประชากรผู้สูงอายุสูงที่สุดของประเทศ โครงสร้างประชากรเปลี่ยนแปลงสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged Society) เร็วกว่าระดับประเทศโดยในปี 2564 มีสัดส่วน ประชากรสูงอายุสูงถึง ร้อยละ 20.69 ซึ่งสูงกว่าระดับประเทศที่มีสัดส่วนเพียง ร้อยละ 18.24 จานวนประชากรสูงอายุของภาคเหนือที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ประชากรวัยแรงงานลดลงและต้องรับภาระในการดูแลผู้สูงอายุมากขึ้น อาจเกิดภาวะการขาดแคลนแรงงานในอนาคต มีความต้องการแรงงานข้ามชาติมากขึ้น เกิดผลกระทบต่อการจ้างงานและผลิตภาพของแรงงานอย่างมีนัยสาคัญ ทั้งยังส่งผลให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ รายได้ประชาชาติ และรายได้เฉลี่ยต่อบุคคลลดลง รวมถึงส่งผลต่อเนื่องไปยังการจัดเก็บรายได้ของภาครัฐ ที่ลดลงเนื่องจากประชากรสูงอายุซึ่งไม่มีรายได้มีสัดส่วนที่มากขึ้น ขณะเดียวกันจาเป็นต้องเพิ่มค่าใช้จ่ายทางด้านสวัสดิการและสาธารณสุขเพื่อดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ส่งผลกระทบต่อการจัดสรรงบประมาณ จึงเป็นแรงกดดันต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคมของไทยอย่างมาก
ด้วยเหตุดังกล่าว ศูนย์วิจัยและพัฒนาวัสดุอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ในฐานะหน่วยงานหลัก ในการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม วิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการ บุคลากรในภาคอุตสาหกรรมให้มีสมรรถนะ และขีดความสามารถในการประกอบการ รวมทั้งยกระดับ เพื่อก้าวเข้าสู่อุตสาหกรรม 4.0 จึงได้ดำเนินกิจกรรมเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิต เพื่อรองรับการผลิตผลิตภัณฑ์สำหรับผู้สูงอายุ ภายใต้โครงการการเสริมสร้างศักยภาพผู้ประกอบการอุตสาหกรรมสู่การแข่งขันเศรษฐกิจวิถีใหม่ เพื่อส่งเสริมและพัฒนาภาคอุตสาหกรรม ในแต่ละพื้นที่ รวมถึงเป็นการยกระดับการผลิตให้มีประสิทธิภาพรองรับการเติบโตของผลิตภัณฑ์ผู้สูงอายุได้
กลุ่มเป้าหมายได้รับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ จำนวน 10 ผลิตภัณฑ์ ให้แก่
– SMEs (กิจการ)
– วิสาหกิจชุมชน (กลุ่ม) , OTOP (กลุ่ม) และ OTOP (รายเดี่ยว)
– ผู้ประกอบการชุมชน (คน) และอื่นๆ (ผลิตภัณฑ์/บรรจุภัณฑ์)
สาขาอุตสาหกรรมเป้าหมาย
– อุตสาหกรรม S-Curve (ยานยนต์/อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ/ท่องเที่ยวระดับคุณภาพ/เกษตรเชิงประสิทธิภาพและเทคโนโลยีชีวภาพ/อาหารแห่งอนาคต/หุ่นยนต์/การบินและโลจิสติกส์ ชีวภาพ/การแพทย์ และสาธารณสุข)
– อุตสาหกรรมดิจิทัล
– อุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป
– อุตสาหกรรมอาหารแปรรูป
– อุตสาหกรรมแฟชั่นและไลฟ์สไตล์
– อื่นๆ ระบุ วัสดุ การท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์
กิจกรรมมีพื้นที่ดาเนินการ ประกอบด้วย จังหวัดลาปาง หรือจังหวัดอื่นที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการตรวจรับงานจ้าง
ผู้ประกอบการที่สนใจสามารถสมัครเข้าร่วมกิจกรรมได้ที่ : https://forms.gle/4j63Rbv8TQkmuAum9
สอบถามข้อมูลการเข้าร่วมกิจกรรมได้ที่ : ศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม (DIProm ITC)
Website : www.itc.or.th
Facebook : ITC Industry Transformation Center – ศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรมสู่อนาคต
Line Official Account : @114qmusj http://nav.cx/dmbXjPH
Youtube Official : ITC Industry Transformation Center
Tel : 02-058-4988, 02-391-5340-43, 1358