จะทำอย่างไรกับบรรจุภัณฑ์เค้ก ที่ต้องส่งออกไปต่างประเทศ
สามารถเข้าถึงการประยุกต์ใช้บรรจุภัณฑ์ ได้อย่างถูกต้อง และ ถูกวิธี และที่สำคัญ คือเป็นที่ยอมรับสำหรับการใช้งาน เกิดผลตามแนทางสำหรับการใช้งานบรรจุภัณฑ์ Packaging Clinic จึงได้นำเสนอเนื้อหาที่มีความน่าสนใจ พร้อมช่วยไขข้อสงสัยให้กับผู้ประกอบการได้ไม่มากก็น้อยอย่างแน่นอน
สำหรับเนื้อหาที่จะนำมาเผยแพร่ในวันนี้ เป็นคำถามที่ต้องเท้าความถึง บทความใน Thai Packaging News Letter คอลัมน์ ถามจริง ตอบจัง โดย สมาคมการบรรจุภัณฑ์ไทย Thai Packaging Association :TPA
โดยคำถามจากผู้ประกอบการ SMEs มีอยู่ว่า “กรมส่งเสริมการส่งออกได้แนะนำผู้ประกอบการด้านเบเกอรี่่ รายหนึ่ง เกี่ยวกับการแพ็คขนมเค้กให้ดูดีพร้อมทั้งสามารถยืดอายุการเก็บรักษา เพื่อรองรับการส่งออกได้ “
โดยขณะนั้นผู้ประกอบการใช้กล่องพลาสติกแบบมีฝากครอบ ตามรายละเอียดของรูป
คำตอบ โดยอาจารย์มยุรี ภาคลำเจียก
ในการออกแบบโครงสร้างบรรจุภัณฑ์ (รูปแบบวัสดุ คุณสมบัติ ที่ต้องการ) จำเป็นต้องทราบข้อมูลในหลากหลายด้าน โดยเฉพาะ คุณสมบัติของเค้ก และสาเหตุของการไม่ยอมรับสินค้า ไม่ว่าจะเป็น การเสียรูป ชื้นแฉะ เยิ้ม หรือกลิ่นที่เปลี่ยนไปตอลดจนการมีเชื้อราขึ้น
ซึ่งคำแนะนำได้ แบ่งออกเป็น 2 ประเด็นด้วยกัน
1. ความชื้นและน้ำตาลสูงของขนมเค้กเอง
เมื่อเก็บ ภายใต้สภาวะแวดล้อมปกติ เชื้อราจะขึ้นได้ง่าย ถ้าลดอุณหภูมิ สภาวะแวดล้อมได้ เช่น ในสภาวะแช่เย็นที่ 0-4 องศาเซลเซียส ก็จะทำให้เก็บได้นานขึ้น ส่วนจะสามารถจัดเก็บได้นานมากขึ้นเพียงใด กี่วัน ต้องทำการทดลองผลที่ได้อีกครั้ง ถ้าเก็บในสภาวะแช่แข็งที่ -20 องศาเซลเซียส ขนมเค้กจะเก็บได้มาก แต่รสชาติของเค้กจะเปลี่ยนไปหรือไม่ ต้องทดลอง การแช่แข็งซึ่งการแช่แข็งจะต้องจ่าย ค่าเก็บรักษาและค่าขนส่งสูง แต่เป็นวิธีการถนอมอาหารประเภทที่มีความชื้นและน้ำตาลสูง (เช่น เค้กแบบในรูปทองหยิบ ทองหยอด เม็ดขนุน ขนมใส่ไส้ เป็นต้น) ได้ดีที่สุด และมีการใช้ส่งออก ไปยังประเทศโชนยุโรปอย่าง ฝรั่งเศษมาแล้ว
2. ขนมเค้กมีไขมัน กล่องพลาสติกที่ใช้ตามรูปที่ส่งมาทำด้วย PS (Polystyrene)
โดยทั่วกล่องพลาสติกที่ใช้ตามรูปที่ส่งมาทำด้วย PS (Polystyrene) ไม่สามารถป้องกันกลิ่นและก๊าชออกซิเจนได้ดีเท่าที่ควร กลิ่นเค้กก็จะลดลงตามเวลาและอาจมีกลิ่นต่างๆ จากภายนอกเข้ามาได้ ทำให้เค้กมีกลิ่นแปลกไป (ตรงจุดนี้ “อาจ” เกิดขึ้นได้ ซึ่งผู้ผลิตจะเป็นผู้ที่ทราบดีที่สุด ส่วนก๊าซออกซิเจนจากอากาศภายนอก็สามารถซึมผ่านเข้ามาในกล่องทำปฏิกิริยากับไขมันของเค้ก ทำให้เหม็นหืน ดังนั้น ควรมีถุงพลาสติกอีกชั้นสำหรับหุ้มกล่องพลาสติก (ส่วนกล่องพลาสติก ยังมีความจำเป็นด้วย เพราะต้องทำหน้าที่ป้องกันขนมเค้กยุบเสียรูป และเพิ่มความสวยงามให้ผลิตภัณฑ์ด้วย) จึงต้องปิดผนึกด้วยความร้อนได้อย่างสนิท และทำด้วยพลาสติกหลายชั้นที่มีคุณสมบัติป้องกันกลิ่นและก๊าซซึมผ่านได้ดี ถ้าใช้ถุงที่มีอลูมิเนียมฟอยล์ แม้จะสามารถป้องกันกลิ่นและก๊าซผ่านได้ดีมากแต่จะเสียโอกาสในการโชว์หน้าตาของสินค้า หรือ หน้าตาของเค้กที่อยู่ในถุงไป จึงควรใช้ถุงใสเพื่อให้เห็นขนมเค้กและมีคุณสมบัติสามารถป้องกันกลิ่นและก๊าซได้ดี เช่น ถุงมีชั้นของ PET หรือ PA หรือ EVOH เป็นชั้นนอก หรือ ชั้นกลาง ในบรรดาพลาสติกทั้ง 3 ชนิดนี้ EVOH จะสามารถป้องกันได้ดีที่สุด แต่ผลกระทบที่ตามมาคือราคาและต้นทุนที่ต้องดูแลจะสูงขึ้น ดังนั้น การเลือกใช้โครงสร้างของถุง ชึ้นอยู่กับความต้องการให้ขนมเค้กมีอายุการเก็บนานเพียงใด ถ้าต้องการนานมาก ถุงที่ใช้ต้องมีสมบัติในการป้องกันกลิ่นและก๊าซได้ดีมาก
จากที่ได้กล่าวมาทั้งหมด ต้องมีการทดลอง และ การทดสอบว่าการใช้บรรจุภัณฑ์และการลดอุณหภูมิ จะสามารถยืดอายุการเก็บได้นานขึ้นเท่าใด และสามารถครอบคลุมระยะเวลาที่ใช้ในการขนส่งและการจำหน่ายในต่างประเทศได้หรือไม่
จึงขอสรุปว่า การเลือกเทคโนโลยีบรรจุภัณฑ์อาหารทุกชนิดต้องศึกษาควบคู่กับกระบวนการถนอมอาหารอยู่เสมอ
หากต้องการรู้ลึก รู้จริง ในเรื่องบรรจุภัณฑ์ ร่วมสมัครและเจอกับผู้เชียวชาญที่จะไขข้อสงสัยเรื่องบรรจุภัณฑ์ให้กับคุณได้แล้วภายในงาน Packaging Academy
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
ศูนย์อบรมอุตสาหกรรมพลาสติก
02 3915340-43 ต่อ 425
ร่วมติดตามบทความดีๆ ที่น่าสนใจได้ที่
Website: www.thaiplastics.org
Line : @Thaiplastics
Facebook : Plastics Institute of Thailand – สถาบันพลาสติก
Youtube Official : Thaiplastics
Tel: 02-391-5340-4
เพิ่มเติมข่าวสารกับศูนย์ ITC
Website : www.itc.or.th
Facebook : ITC Industry Transformation Center – ศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรมสู่อนาคต
Youtube Official : ITC Industry Transformation Center
Line Official Account : @114qmusj http://nav.cx/dmbXjPH
Tel.02-058-4988,02-391-5340-43,1358